QUESTIONผลงานมีแนวทางในการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานหลักอย่างไร? | ANSWER• ยังไม่มีแบบฟอร์มการเขียนคู่มือ หรือตัวอย่างเฉพาะสำหรับการเขียนคู่มือปฏิบัติงานหลัก แต่ท่านสามารถจัดทำคู่มือตามมาตรฐานคู่มือทั่วไปได้ หรือดูเอกสารแนบท้ายประกาศฯ ในหัวข้อคำนิยาม รูปแบบ ลักษณะการเผยแพร่ และเกณฑ์ระดับคุณภาพของผลงานของคู่มือปฏิบัติงานหลักได้• คู่มือไม่มีวันหมดอายุ แต่ควรพิจารณาความทันสมัยของเนื้อหาและกระบวนการ เช่น เครื่องมือหรือวิธีการทำงานที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน • การจัดทำคูมือปฏิบัติงานหลักไม่จำเป็นต้องเขียนทุกเรื่องที่ปฏิบัติ แต่สามารถเลือกเขียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ครอบคลุมทั้งกระบวนการได้ โดยคู่มือปฏิบัติงานหลักไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับงานวิจัยชิ้นอื่นที่ใช้เสนอขอ สามารถจัดทำแยกได้ |
QUESTIONผลงานการเผยแพร่คู่มือปฏิบัติงานหลักมีแนวทางอย่างไร? | ANSWER• ลักษณะการเผยแพร่คู่มือปฏิบัติงานหลักให้ส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะห้องสมุด แต่รวมถึงหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการทำงานของท่าน หรือเป็นที่ที่ผลงานของท่านจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านได้ โดยต้องมีหนังสือตอบรับจากหน่วยงานนั้นๆ ให้ครบ 5 แห่ง ซึ่งความมีทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อความเหมาะสม |
QUESTIONผลงานการทำงานวิจัยร่วมกับผู้อื่นที่มีส่วนร่วมในผลงานไม่ถึง 50% สามารถนำมาเสนอขอตำแหน่งที่สูงขึ้นได้หรือไม่? | ANSWER• สามารถนำมาเสนอขอได้ โดยผู้เสนอขอไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประพันธ์อันดับแรก (First author) หรือผู้ประพันธ์บรรกิจ (Corresponding author) แต่ต้องมีอย่างน้อย 1 เรื่องที่ผู้เสนอขอมีส่วนร่วมในผลงานเกิน 50% และสำหรับผลงานที่มีส่วนร่วมไม่ถึง 50% ให้นำผลงานอื่นที่มีความเกี่ยวเนื่องสอดคล้องกันมารวมให้ถึง 50% |
QUESTIONผลงานงานวิจัยมีวันหมดอายุหรือไม่? | ANSWER• งานวิจัยไม่มีวันหมดอายุ แต่ควรพิจารณาความทันสมัยของเนื้อหาและกระบวนการ หรือเครื่องมือหรือวิธีการทำงานที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน |
QUESTIONผลงานการตีพิมพ์งานวิจัยโดยมีลักษณะการเผยแพร่ในรูปแบบของบทความวิจัยในวารสารทางวิชาการ จะเผยแพร่โดยตีพิมพ์ในฐานข้อมูล TCI (ฐานข้อมูลระดับชาติ) ได้หรือไม่? | ANSWER• การตีพิมพ์งานวิจัยในระดับชาติ ต้องเป็นวารสารที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการในสาขาวิชานั้นๆ หรือที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องมีการตีพิมพ์อย่างต่อ อย่างน้อย 3 ปี ในระดับนานาชาติ ต้องเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลที่ ก.พ.อ. กำหนด |
QUESTIONผลงานหากงานวิจัยเคยตีพิมพ์ในวารสารที่มีการตีพิมพ์ต่อเนื่อง 3 ปี แต่ปัจจุบันวารสารนั้นไม่ได้มีการตีพิมพ์แล้ว สามารถนำมาใช้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการได้หรือไม่? | ANSWER• สามารถนำมาใช้ได้ เพราะ ณ ขณะนั้นไม่มีผู้ใดทราบล่วงหน้าว่าวารสารจะยุติการตีพิมพ์เมื่อใด |
QUESTIONผลงานรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full paper) จะต้องผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ก่อนการเผยแพร่หรือไม่? | ANSWER• จะต้องมีการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ผู้เสนอขอจะต้องแสดงหลักฐานว่ารายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) มาให้มหาวิทยาลัย ซึ่งการตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) จะเป็นการตั้งโดยผู้เสนอขอหรือส่วนงานจะเป็นผู้จัดหาหรือตั้งให้ก็ได้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ที่เกี่ยวกับผลงานผู้เสนอขอ ทั้งนี้ กรรมการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) จะต้องไม่ใช่กรรมการตรวจรับทุน หรือรับจ้างเพื่อให้งานวิจัยนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์/ข้อกำหนดตามสัญญาจ้าง |
QUESTIONผลงานหลักฐานการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ในงานวิจัยมีแนวทางอย่างไร? | ANSWER• สามารถดูเพิ่มเติมได้ในเอกสารแนบท้ายประกาศฯ แนบท้าย กรณี ก่อนปี 2565 (ข้อบังคับยังไม่ออก) ต้องมีหลักฐานว่าการเผยแพร่สำหรับการเผยแพร่ผลงานชิ้นนั้น ได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (peer review) โดยสามารถใช้หนังสือรับรองโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีรายชื่อกรรมการได้ (เฉพาะกรณี ก่อนปี 2565) กรณี หลังปี 2565 (ข้อบังคับออกแล้ว) จะต้องมีรายชื่อ peer review บุคคลภายนอกจากหลายสถาบันอย่างน้อย3 คน |
QUESTIONผลงานบทความวิจัย (Original article) และรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ที่ใช้ชื่อเรื่องเดียวกันหรือมีเนื้อหาเหมือนกัน สามารถส่งเพื่อเสนอขอพร้อมกันได้หรือไม่? | ANSWER• ไม่สามารถนำมาเสนอขอได้ เนื่องจากเป็นเรื่องเดียวกัน แต่มีการนำไปเผยแพร่คนละรูปแบบ ซึ่งอาจเข้าข่ายการผิดจริยธรรมและจรรยบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ ตามข้อ 23(1) ในประกาศฯ ที่กล่าวไว้ว่า ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาชีพ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตน และไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการ หรือวิชาชีพมากกว่าหนึ่งฉบับในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่ |
QUESTIONการมีส่วนร่วมในผลงานถ้าผู้เสนอขอมีชื่อในผลงานเป็นชื่อที่ 2 (ที่อาจมีบทบาทเป็น ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding author) หรือบทบาทอื่นๆ (Co-author)) และมีส่วนร่วมในผลงานชิ้นนั้น 50% ขึ้นไป จะนำผลงานชิ้นนั้นมาเสนอขอได้หรือไม่? | ANSWER• สามารถนำมาเสอนขอได้ และนับเป็นผลงานที่ผ่านเกณฑ์การมีส่วนร่วม ตามที่ประกาศฯ กำหนดไว้ เนื่องจากมีบทบาทเกิน 50% |
QUESTIONการมีส่วนร่วมในผลงานการดูบทบาทการมีส่วนร่วมไม่ว่าจะเป็นผู้ประพันธ์อันดับแรก (First author) ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding author) หรือบทบาทอื่นๆ (Co-author) ดูอย่างไร? | ANSWER• อยู่ที่การตกลงบทบาทก่อนการทำงาน และระบุบทบาทการมีส่วนร่วมว่าใครมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง |