QUESTIONผลงานมีแนวทางในการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานหลักอย่างไร? | ANSWER• ยังไม่มีแบบฟอร์มการเขียนคู่มือ หรือตัวอย่างเฉพาะสำหรับการเขียนคู่มือปฏิบัติงานหลัก แต่ท่านสามารถจัดทำคู่มือตามมาตรฐานคู่มือทั่วไปได้ หรือดูเอกสารแนบท้ายประกาศฯ ในหัวข้อคำนิยาม รูปแบบ ลักษณะการเผยแพร่ และเกณฑ์ระดับคุณภาพของผลงานของคู่มือปฏิบัติงานหลักได้• คู่มือไม่มีวันหมดอายุ แต่ควรพิจารณาความทันสมัยของเนื้อหาและกระบวนการ เช่น เครื่องมือหรือวิธีการทำงานที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน • การจัดทำคูมือปฏิบัติงานหลักไม่จำเป็นต้องเขียนทุกเรื่องที่ปฏิบัติ แต่สามารถเลือกเขียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ครอบคลุมทั้งกระบวนการได้ โดยคู่มือปฏิบัติงานหลักไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับงานวิจัยชิ้นอื่นที่ใช้เสนอขอ สามารถจัดทำแยกได้ |
QUESTIONผลงานการเผยแพร่คู่มือปฏิบัติงานหลักมีแนวทางอย่างไร? | ANSWER• ลักษณะการเผยแพร่คู่มือปฏิบัติงานหลักให้ส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะห้องสมุด แต่รวมถึงหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการทำงานของท่าน หรือเป็นที่ที่ผลงานของท่านจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านได้ โดยต้องมีหนังสือตอบรับจากหน่วยงานนั้นๆ ให้ครบ 5 แห่ง ซึ่งความมีทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อความเหมาะสม |
QUESTIONผลงานการทำงานวิจัยร่วมกับผู้อื่นที่มีส่วนร่วมในผลงานไม่ถึง 50% สามารถนำมาเสนอขอตำแหน่งที่สูงขึ้นได้หรือไม่? | ANSWER• สามารถนำมาเสนอขอได้ โดยผู้เสนอขอไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประพันธ์อันดับแรก (First author) หรือผู้ประพันธ์บรรกิจ (Corresponding author) แต่ต้องมีอย่างน้อย 1 เรื่องที่ผู้เสนอขอมีส่วนร่วมในผลงานเกิน 50% และสำหรับผลงานที่มีส่วนร่วมไม่ถึง 50% ให้นำผลงานอื่นที่มีความเกี่ยวเนื่องสอดคล้องกันมารวมให้ถึง 50% |
QUESTIONผลงานงานวิจัยมีวันหมดอายุหรือไม่? | ANSWER• งานวิจัยไม่มีวันหมดอายุ แต่ควรพิจารณาความทันสมัยของเนื้อหาและกระบวนการ หรือเครื่องมือหรือวิธีการทำงานที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน |
QUESTIONผลงานการตีพิมพ์งานวิจัยโดยมีลักษณะการเผยแพร่ในรูปแบบของบทความวิจัยในวารสารทางวิชาการ จะเผยแพร่โดยตีพิมพ์ในฐานข้อมูล TCI (ฐานข้อมูลระดับชาติ) ได้หรือไม่? | ANSWER• การตีพิมพ์งานวิจัยในระดับชาติ ต้องเป็นวารสารที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการในสาขาวิชานั้นๆ หรือที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องมีการตีพิมพ์อย่างต่อ อย่างน้อย 3 ปี ในระดับนานาชาติ ต้องเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลที่ ก.พ.อ. กำหนด |
QUESTIONผลงานหากงานวิจัยเคยตีพิมพ์ในวารสารที่มีการตีพิมพ์ต่อเนื่อง 3 ปี แต่ปัจจุบันวารสารนั้นไม่ได้มีการตีพิมพ์แล้ว สามารถนำมาใช้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการได้หรือไม่? | ANSWER• สามารถนำมาใช้ได้ เพราะ ณ ขณะนั้นไม่มีผู้ใดทราบล่วงหน้าว่าวารสารจะยุติการตีพิมพ์เมื่อใด |
QUESTIONผลงานรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full paper) จะต้องผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ก่อนการเผยแพร่หรือไม่? | ANSWER• จะต้องมีการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ผู้เสนอขอจะต้องแสดงหลักฐานว่ารายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) มาให้มหาวิทยาลัย ซึ่งการตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) จะเป็นการตั้งโดยผู้เสนอขอหรือส่วนงานจะเป็นผู้จัดหาหรือตั้งให้ก็ได้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ที่เกี่ยวกับผลงานผู้เสนอขอ ทั้งนี้ กรรมการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) จะต้องไม่ใช่กรรมการตรวจรับทุน หรือรับจ้างเพื่อให้งานวิจัยนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์/ข้อกำหนดตามสัญญาจ้าง |
QUESTIONผลงานหลักฐานการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ในงานวิจัยมีแนวทางอย่างไร? | ANSWER• สามารถดูเพิ่มเติมได้ในเอกสารแนบท้ายประกาศฯ แนบท้าย กรณี ก่อนปี 2565 (ข้อบังคับยังไม่ออก) ต้องมีหลักฐานว่าการเผยแพร่สำหรับการเผยแพร่ผลงานชิ้นนั้น ได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (peer review) โดยสามารถใช้หนังสือรับรองโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีรายชื่อกรรมการได้ (เฉพาะกรณี ก่อนปี 2565) กรณี หลังปี 2565 (ข้อบังคับออกแล้ว) จะต้องมีรายชื่อ peer review บุคคลภายนอกจากหลายสถาบันอย่างน้อย3 คน |
QUESTIONผลงานบทความวิจัย (Original article) และรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ที่ใช้ชื่อเรื่องเดียวกันหรือมีเนื้อหาเหมือนกัน สามารถส่งเพื่อเสนอขอพร้อมกันได้หรือไม่? | ANSWER• ไม่สามารถนำมาเสนอขอได้ เนื่องจากเป็นเรื่องเดียวกัน แต่มีการนำไปเผยแพร่คนละรูปแบบ ซึ่งอาจเข้าข่ายการผิดจริยธรรมและจรรยบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ ตามข้อ 23(1) ในประกาศฯ ที่กล่าวไว้ว่า ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาชีพ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตน และไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการ หรือวิชาชีพมากกว่าหนึ่งฉบับในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่ |
QUESTIONการจัดสรรจำนวนกรอบตำแหน่งส่วนงานสามารถขอกรอบตำแหน่งในระดับชำนาญการ และชำนาญการพิเศษเพิ่มจากจำนวนที่สภาจัดสรรให้ ได้หรือไม่? | ANSWER• ในกรณีที่ส่วนงานมีภารกิจที่รับผิดชอบเพิ่มขึ้นที่ต้องใช้ความชำนาญในระดับที่สูงขึ้นเพิ่มเติม ก็สามารถทำเรื่องเพื่อขอประเมินการจัดสรรจำนวนกรอบใหม่ได้ ทั้งนี้ ส่วนงานต้องใช้จำนวนที่ได้รับการจัดสรรให้หมดก่อน |
QUESTIONการจัดสรรจำนวนกรอบตำแหน่งส่วนงานสามารถขอกรอบตำแหน่งในระดับเชี่ยวชาญได้หรือไม่? | ANSWER• ทุกส่วนงานสามารถขอกรอบระดับเชี่ยวชาญได้ กรอบตำแหน่งในระดับเชี่ยวชาญทั้งหมดถูกจัดสรรไว้ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่การขอใช้กรอบต้องคำนึกถึงภารกิจของส่วนงานเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการประเมิน (ของมหาวิทยาลัย) เป็นผู้พิจารณาเป็นกรณีไป และให้มีการทำเรื่องเข้ามาที่กองบริหารงานบุคคล เพื่อประเมินการใช้กรอบเป็นกรณี ในกรณีที่ส่วนงานมีภารกิจที่รับผิดชอบเพิ่มขึ้นที่ต้องใช้ความชำนาญในระดับที่สูงขึ้นเพิ่มเติม ก็สามารถทำเรื่องเพื่อขอประเมินการจัดสรรจำนวนกรอบใหม่ได้ ทั้งนี้ ส่วนงานต้องใช้จำนวนที่ได้รับการจัดสรรให้หมดก่อน |
QUESTIONการจัดสรรจำนวนกรอบตำแหน่งกรอบตำแหน่งในระดับชำนาญการ และชำนาญการพิเศษที่ถูกจัดสรรลงแต่ละงานในส่วนงานไปแล้ว สามารถจัดสรรใหม่ได้หรือไม่? | ANSWER• สามารถจัดสรรใหม่ได้เสมอ แต่ถ้าให้ง่ายต่อการจัดการในส่วนงานก็สามารถจัดสรรกรอบตำแหน่งไว้ตรงกลางในภาพรวมของส่วนงานได้ เพื่อให้ง่ายต่อการปรับเปลี่ยน |
QUESTIONการจัดสรรจำนวนกรอบตำแหน่งกรอบตำแหน่งที่ยังไม่ได้จัดสรร ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ส่วนงานมีการจัดสรรกรอบตำแหน่งเฉพาะกรอบตำแหน่งระดับชำนาญการให้แต่ละงานในส่วนงานก่อน แต่ยังไม่ได้จัดสรรในส่วนของกรอบระดับชำนาญการพิเศษมหาวิทยาลัยจะยึดคืนหรือไม่? | ANSWER• ไม่ยึดคืน |
QUESTIONกระบวนการผู้ทรงคุณวุฒิ (Reader) มีกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาผลงานของผู้เสนอขอตำแหน่งอย่างไร? | ANSWER• มหาวิทยาลัยกำหนดระยะเวลามาตรฐานในการพิจารณาผลงานไว้ที่ 2 เดือน ทั้งนี้ อาจมีความยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม เนื่องจากผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละท่านมีภารกิจและข้อจำกัดด้านเวลาที่แตกต่างกัน |
QUESTIONคณะกรรมการคณะกรรมการประเมินค่างานของส่วนงานต้องส่งมาให้มหาวิทยาลัยแต่งตั้งหรือไม่? | ANSWER• คณะกรรมการประเมินค่างานของข้าราชการต้องส่งมาให้มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง แต่ของพนักงานมหาวิทยาลัยให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนงาน |
QUESTIONคณะกรรมการคณะกรรมการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานจำเป็นต้องเป็นคณะกรรมการฯชุดเดียวกับคณะกรรมการประเมินค่างานของส่วนงานหรือไม่? | ANSWER• ไม่จำเป็นต้องเป็นชุดเดียวกันกับคณะกรรมการประเมินค่างาน เนื่องจากคณะกรรมการประเมินผลสัมฤทธิ์จะเกี่ยวข้องกับตัวผู้เสนอขอ |
QUESTIONคณะกรรมการใครเป็นผู้ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานตามตัวชี้วัดของตำแหน่งที่ครองอยู่ฯ ของผู้เสนอขอ? | ANSWER• ส่วนงานเป็นผู้ประเมิน โดยให้แตั้งคณะกรรมการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน ตามองค์ประกอบในข้อบังคับฯ ข้อที่ 12 ที่กำหนดให้มีองค์ประกอบคณะกรรมการตามความเหมาะสม จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน โดยให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของผู้เสนอขอร่วมเป็นกรรมการด้วย |
QUESTIONค่างานมหาวิทยาลัยมีค่างานกลางอยู่แล้ว ส่วนงานยังต้องจัดทำกระบวนการประเมินค่างานและส่งไปที่มหาวิทยาลัยอยู่หรือไม่? | ANSWER• ค่างานกลางของมหาวิทยาลัย จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานกลางของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นตัวอย่างให้ส่วนงานที่ยังไม่มีทิศทางหรือจุดเริ่มต้นในการเขียนค่างาน ส่วนงานจึงยังต้องมีการจัดทำการประเมินค่างานโดยสามารถใช้ค่างานกลางเป็นตัวอย่างและเพิ่มภาระงานของหน่วยงาน/ส่วนงานลงไปให้สมบูรณ์และเหมาะกับบริบทของแต่ละส่วนงาน รวมถึงต้องให้คณะกรรมการประเมินค่างานของส่วนงานให้ใส่ผลและความจำเป็น พร้อม คะแนนให้เรียบร้อย |
QUESTIONการมีส่วนร่วมในผลงานถ้าผู้เสนอขอมีชื่อในผลงานเป็นชื่อที่ 2 (ที่อาจมีบทบาทเป็น ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding author) หรือบทบาทอื่นๆ (Co-author)) และมีส่วนร่วมในผลงานชิ้นนั้น 50% ขึ้นไป จะนำผลงานชิ้นนั้นมาเสนอขอได้หรือไม่? | ANSWER• สามารถนำมาเสอนขอได้ และนับเป็นผลงานที่ผ่านเกณฑ์การมีส่วนร่วม ตามที่ประกาศฯ กำหนดไว้ เนื่องจากมีบทบาทเกิน 50% |
QUESTIONการมีส่วนร่วมในผลงานการดูบทบาทการมีส่วนร่วมไม่ว่าจะเป็นผู้ประพันธ์อันดับแรก (First author) ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding author) หรือบทบาทอื่นๆ (Co-author) ดูอย่างไร? | ANSWER• อยู่ที่การตกลงบทบาทก่อนการทำงาน และระบุบทบาทการมีส่วนร่วมว่าใครมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง |