E-CMU | CHIANGMAI UNIVERSITY

- ความเป็นมาของ ค่านิยมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ E-CMU -


  จากการจัดสัมมนาผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2551 ภายใต้หัวข้อเรื่อง ค่านิยมหลักของใมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 16-18 พฤษภาคม 2561 ณ โรงแรมดุสิตไอร์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย จากการระดมสมองของผู้บริหารตั้งแต่ระดับ กรรมการสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวนการกองและเลขานุการคณะ/สำนัก/สถาบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กำหนดค่านิยมหลักของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนี้
 1. มุ่งเน้นคุณภาพ/ความเป็นเลิศ
 2. มุ่งเน้นประสิทธิภาพของงาน
 3. เน้นความคล่องตัว
 4. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
 5. สร้างความรักและความผูกพันต่อองค์กร
 6. มุ่งเน้นท้องถิ่น และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
 7. ยึดหลักธรรมมาภิบาล
 8. เชิดชูคุณธรรม
 9. พัฒนาจิตอาสา/จิตสาธารณะ/จิตบริการ
 10. เน้นการทำงานเป็นทีม

 แต่เนื่องจากค่านิยมทั้ง 10 ตัวมีมากและยากแก่การจำ ประกอบกับไม่มีการเผยแพร่ให้กับบุคลากรได้ทราบ ดังนั้น จากการสัมมนาคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (กบม) และคณะกรรมการบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ก.บ.) เมื่อวันที่ 29 – 30 พย.2556ณ โรงแรมวิลันดา อ.หางดง จ.เชียงใหม่ จึงนำเรื่อง ค่านิยมหลักของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเข้าเป็นวาระการประชุมด้วย และได้พิจารณาเห็นว่าเพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย ได้มีความเข้าใจเรื่องค่านิยมหลักของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงกำหนด เป็น คำย่อว่า

" E-CMU "


ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Core Value)
ระยะแรกเรียกว่า Start จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเผยแพรึค่านิยม โดยเน้นถึงความหมาย ความสำคัญของค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งที่ผ่านมาในรอบปี 2558 – 2559 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ดำเนินการในช่วงของ START สำหรับหน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทุกส่วนงานเรียบร้อยแล้ว โดยการเผยแพร่ให้ทุกส่วนงานได้รับรู้ถึงค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ระยะที่ สอง เรียกว่า STAY จะเริ่มดำเนินการในช่วงปี 2561 ซึ่งจะเป็นขั้นตอนของการทำให้เกิดความต่อเนื่องของการใช้วัฒนธรรมองค์กรกับการปฏิบัติงานโดยเป็นขั้นตอนในการแปลงค่านิยมของมหาวิทยาลัย ให้ออกมาเป็นพฤติกรรมที่พึงปฏิบัติและสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยม E-CMU โดยใช้วิธีการ 7 P คือ Policy Person Program Process Public Place และ Promotion ในการกำหนดให้เกิดพฤติกรรม และจะสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ต่อไป
ระยะที่ สาม เรียกว่า Sustain คือขั้นตอนของการดำเนินการด้านวัฒนธรรมให้เกิดการปฏิบัติที่ยั่งยืน
Image
Image
Image
Image